วิวัฒนาการการรักษามะเร็งเต้านมชนิดตัวรับเฮอร์ทู
การค้นพบยากลุ่ม anti-HER2 เมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของวงการแพทย์ในด้านการรักษามะเร็งเต้านม ที่สามารถช่วยให้การรักษามะเร็งเต้านมได้ผลดีขึ้นอย่างมาก
บทความนี้จะให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ วิวัฒนาการการรักษาด้วยยาต้าน HER2 ซึ่งมีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการค้นพบตัวยาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น และถูกนำมาใช้ในหลายๆ ระยะของการรักษาทั้งก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และเมื่อมะเร็งมีการแพร่กระจาย
การรักษามะเร็งเต้านมชนิดตัวรับเฮอร์ทู ในระยะเริ่มต้น
มะเร็งเต้านมชนิดตัวรับเฮอร์ทู (HER2) ซึ่งเป็นมะเร็งเต้านมชนิดที่มีความรุนแรง เกิดจากการกลายพันธุ์เพิ่มปริมาณของยีนก่อมะเร็งเฮอร์ทู และมีแนวโน้มของการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
ขอนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมะเร็งเต้านม รวมถึงข้อแนะนำเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดตัวรับเฮอร์ทู (HER2) ซึ่งหลายๆท่าน อาจยังมีข้อสงสัยในหลายประเด็น เช่น การผ่าตัดยิ่งเร็วจะได้ผลดีเสมอไปไหม , มะเร็งเต้านมจำเป็นต้องตัดทั้งเต้าออกเสมอหรือไม่ เป็นต้น
โดยในปัจจุบันผู้ป่วยกลุ่มนี้มีทางเลือกในการรักษาด้วย “ยามุ่งเป้า” ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดีขึ้น ลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำ เพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นในการหายขาดจากโรค รวมถึงมีผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยกว่ายาเคมีบำบัดอีกด้วย