พันธุกรรมกับมะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่สัมพันธ์กับพันธุกรรมหรือยีนที่ผิดปกติ จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ BRCA1, BRCA2, และ PALB2 ซึ่งอาจได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดาหรือมารดา ผู้หญิงที่มีความผิดปกติของยีนเหล่านี้ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เพศชายก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ในภาวะปกติหน้าที่ของยีน BRCA และ PALB2 ทำหน้าที่ควบคุมเซลล์เต้านมให้เจริญได้อย่างปกติและป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง การกลายพันธุ์ของยีนเหล่านี้พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง 10% ของคนไข้มะเร็งเต้านมหรือ 1 ใน 10 พบว่ามีความสัมพันธ์กับยีนที่ผิดปกติไป ผู้ป่วยบางคนเลือกที่จะตรวจหายีนกลายพันธุ์ก่อนที่จะเป็นโรค โดยสามารถตรวจได้ทั้งจากเลือดหรือสารคัดหลั่งน้ำลาย บทความต่อไปนี้จะพูดถึงเรื่องการตรวจยีนหรือ genetic testing Learning About Your Family Background หากคุณหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม สิ่งแรกที่ควรจะต้องสนใจคือ ญาติทางฝั่งบิดาและมารดามีประวัติเหล่านี้หรือไม่ - มีญาติเพศหญิงตั้งแต่สามคนขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่ในขณะที่อายุน้อยกว่า 50 ปี - มีญาติสนิทที่เป็นมะเร็งเต้านมทั้งสองข้าง - มีสมาชิกในครอบครัวเป็นทั้งมะเร็งรังไข่มะเร็งต้องนม - มีสมาชิกเพศชายในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม - มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมและมีญาติเพศชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากในขณะที่อายุน้อย - ครอบครัวของคุณมีเชื้อชาติยิว หากประวัติครอบครัวของคุณเข้าได้กับลักษณะด้านบน คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่มีความจำเป็นในการตรวจความผิดปกติของยีน ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจยีนผิดปกติจะทำแผนผังครอบครัว ชนิดของมะเร็งที่เป็น และอายุที่เริ่มเป็น เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าคุณสมควรตรวจยีนหรือไม่ Deciding Who in the Family Should Get Tested การเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม จะทำให้เห็นลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ชัดเจนขึ้น ไม่เฉพาะมะเร็งเต้านมหรือรังไข่แต่รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆด้วย การส่งตรวจยีน หรือ genetic testing จะเริ่มเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวของคุณเป็นมะเร็งเต้านมหรือรังไข่ - แม้จะตรวจพบยีนผิดปกติที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมในครอบครัว แต่ไม่ได้หมายความว่าสมาชิกทุกคนในครอบครัวจะต้องมียีนผิดปกติเหล่านี้ เนื่องจากยีนที่ผิดปกติอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ในผู้ป่วยรายนั้น สมาชิกในครอบครัวที่มียีนผิดปกติจำเป็นจะต้องตรวจคัดกรองเป็นกรณีพิเศษ แต่ในกรณีที่ไม่พบความผิดปกติของยีนความเสี่ยงและการตรวจคัดกรองสามารถทำได้เหมือนบุคคลทั่วไป - ถ้าการตรวจสมาชิกในครอบครัวที่เป็นมะเร็งเต้านมและรังไข่แต่ไม่พบยีนที่ผิดปกติที่สัมพันธ์กัน เป็นไปได้ว่าอาจจะมียีนที่ผิดปกติชนิดอื่นที่อาจยังไม่ค้นพบ คุณและสมาชิกในครอบครัวยังมีความจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้
เกิดมะเร็งเต้านมและรังไข่มากกว่าบุคคล ในบางครั้งสมาชิกที่เป็นมะเร็งเสียชีวิต และไม่สามารถที่จะตรวจยีนได้ แพทย์ทางพันธุกรรมจะสามารถให้คำแนะนำคุณเพื่อร่วมในการตัดสินใจได้ ถ้าพบว่าสมาชิกในครอบครัวคนหนึ่งมียีน BRCA1, BRCA2, or PALB2 gene ที่ผิดปกติ มีความจำเปผ้นที่ต้องนำญาติสนิทคนอื่น ๆ มาตรวจร่วมด้วย และถ้าไม่พบความผิดปกติของยีนเหล่านี้ ก็จะไม่มีการถ่ายทอดยีนผิดปกติไปสู่อีกรุ่นหนึ่งได้ ตัวอย่างเช่น - ถ้าน้องสาวของแม่มียีน BRCA หรือ PALB2 ที่ผิดปกติ คนต่อไปที่ควรมาตรวจคือมารดาของคุณ และถ้าผลตรวจยีนของมารดาเป็นลบหรือไม่มียีนผิดปกติ คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจเพราะมารดาของคุณไม่มียีนที่ผิดปกติที่จะส่งต่อถึงคุณได้ แต่ถ้าผลตรวจเป็นบวกหรือพบยีนผิดปกติ คุณควรจะต้องไปตรวจด้วย - ถ้าผลตรวจของคุณเป็นบวกคือพบกินผิดปกติ คุณควรนำลูกพี่ลูกน้องหรือลูกของคุณไปตรวจ ถ้าพบยีนผิดปกติในพวกเขาเหล่านั้น การถ่ายทอดของยีนผิดปกติจะสามารถส่งถึงรุ่นหลานได้ การตรวจในเด็ก ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้หลีกเลี่ยงการตรวจการกลายพันธุ์ของยีน BRCA และ PALB 2 ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 18 ปี เนื่องจากไม่มีการรักษาที่ประสิทธิภาพสูงและปลอดภัยในการป้องกันการเป็นมะเร็งในผู้ป่วยอายุน้อย นอกจากนั้น วัยวุฒิที่น้อยเกินไปไม่เหมาะสมในการตัดสินใจและรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตลอดชั่วชีวิต ข้อดีข้อเสียในการตรวจ ยีน ถ้าคุณกำลังสนใจในการตรวจ การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1, BRCA2, or PALB2 คุณจำเป็นต้องทราบข้อดีและข้อเสียเหล่านี้ก่อน ถ้าคุณมีสมาชิกในครอบครัวตรวจพบมีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1, BRCA2 แต่การตรวจของคุณผลเป็นลบ ( negative) - แปลผลได้ว่า คุณมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่เท่ากับคนปกติ การตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งเต้านม ( การตรวจเต้านมเอง ตรวจแมมโมแกรม และการพบแพทย์ ) จำเป็นสำหรับคุณ สำหรับมะเร็งรังไข่ ยังไม่มีข้อแนะนำที่ชัดเจนในการตรวจคัดกรอง กรณีที่ความเสี่ยงปกติ ในเพศชายที่ผลตรวจเป็นลบ ความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมน้อยเท่ากับผู้ชายปกติ และความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำด้วย ถ้าผลตรวจของคุณเป็นบวก (positive) มีหลายวิธีที่คุณจะลดความเสี่ยงหรือสามารถตรวจพบมะเร็งในระยะแรกได้โดย - ปรึกษาแพทย์เรื่องการป้แงกันโดยใช้ยาฮอร์โมน เช่น tamoxifen, Evista (chemical name: raloxifene), or Aromasin (chemical name: exemestane) ที่สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม หรือการทานยาคุมซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่ ขณะที่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนในความปลอดภัยในการใช้ยาคุมกำเนิดในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม หากคุณต้องการใช้ยาคุมกำเนิด ควรปรึกษาแพทย์ถึงข้อดีข้อเสีย ซึ่งขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น
ยีนผิดปกติ และประวัติมะเร็งเต้านมและรังไข่ในครอบครัว - ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทุก 6 เดือน ( ในคนปกติทุก 1 ปี ) โยการพบแพทย์ร่วมกับตรวจ แมมโมแกรมหรือ MRI นอกจากนั้นควรตรวจอุ้งเชิงกรานและอัลตร้าซาวน์ และอาจส่งตรวจเลือดดูค่า CA 125 เพื่อตรวจพบมะเร็งรังไข่ระยะแรก - คุณอาจเลือกวิธีป้องกันด้วยการผ่าตัดเอาเต้านมและรังไข่ทั้งสองข้างออกก่อนเพื่อลดโอกาสที่จะเป็นมะเร็ง - การรู้ว่ามียีนกลายพันธุ์สามารถทำให้คุณและครอบครัวสามารถวางแผนชีวิตและตัดสินใจหาวิธีเพื่อลดความเสี่ยงได้ ประโยชน์ที่ได้รับน้อยจากการตรวจยีน การตรวจยีนมีข้อเสียเปรียบดังนี้ - ยังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจนว่าคุณควรหรือไม่ควรทำอะไรเมื่อตรวจพบว่ามีนที่ผิดปกติ เรายังไม่ทราบถึงการป้องกันที่มีคุณภาพที่สุด ถึงแม้ในปัจจุบันเราจะมียาต้านฮอร์โมนสำหรับลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม หรือยาคุมกำเนิดสำหรับมะเร็งรังไข่ก็ตาม - การป้องกันโดยผ่าตัดเต้านมและรังไข่ก่อนจะเป็นมะเร็ง (called prophylactic surgery) สามารถลดความเสี่ยงลงได้มาก แต่ไม่ได้ลดความเสี่ยงทั้งหมดในการเป็นมะเร็ง ถึงแม้หลังผ่าตัดจะตรวจติดตามอาการ แต่เซลล์ที่ผิดปกติสามารถเกิดได้ใกล้กับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะข้างเคียงได้ - ผลตรวจเป็นปกติไม่ได้ยืนยันว่ายีนจะสุขภาพดีตลอดไป ผู้ป่วยหญิงหลายคนในครอบครัวไม่มียีนผิดปกติ แต่พบมีมะเร็งเต้านมถ่ายทอดในครอบครัว ซึ่งอาจมาจากยีนที่ยังไม่รู้จักและตรวจไม่พบ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ - การติดตามอย่างใกล้ชิดและตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมออาจะไม่สามารถตรวจพบมะเร็งในระยะแรกได้เสมอไป ในผู้ป่วยบางคนอาจถูกวินิจฉัยในขณะที่เป็นระยะรุนแรงถึงแม้จะได้รับการตรวจคัดกรองเสมอ - บางคนเมื่อทราบว่ามียีนผิดปกติ อาจก่อให้เกิดความกังวล ซึมเศร้า หรือหงุดหงิด แม้ว่าผลที่พบไม่ได้หมายถึงว่าคนอๆ นั้นจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป ถ้าคุณคิดว่าการได้รับข้อมูลอาจมีผลต่อการดำรงชีวิตของคุณ คุณอาจะตัดสินใจไม่ส่งตรวจยีน จนกว่าจะพบว่ามีการรักษาป้องกันที่ดีกว่านี้ - ถ้าคุณรู้ว่าความผิดปกติของยีนสามารถถ่ายทอดไปถึงลูกคุณได้ คุณอาจจะเกิดความกังวลและรู้สึกผิด - การตรวจยีนอาจะไม่ได้ตอบทุกคำถามของคุณ การมียีนผิดปกติไม่ใช่ความเสี่ยงเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึง ปัจจัยอื่น ๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดในปัจจุบันด้วย ต้องทำอย่างไรหากผลตรวจของคุณเป็นลบ (negative) ถ้าในครอบครัวของคุณมีคนเป็นมะเร็งเต้านม แต่ผลตรวจยีนของคุณเป็นลบ ความเสี่ยงของคุณจะเท่ากับคนปกติ คือ 12-13% ตลอดชีวิต และไม่ว่าคุณจะเป็นเพศไหน ผลตรวจที่เป็นลบคุณจะไม่มียีนผิดปกติถ่ายทอดถึงลูกได้ คุณผูหญิงที่กังวลกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม คุณสามารถทำตามคำแนะนำนี้ได้ - คลำเต้านมเองอย่างสม่ำเสมอและพบแพทย์ปีละครั้งหรือทุก 6 เดือน - ตรวจคัดกรองแมมโมแกรมอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่อายุ 40 ปี
- รักษาสุขภาพทั่วไป ทานอาหาไขมันต่ำ ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ลดการอื่นแอลกอฮอล์ - ถ้าคุณและคนในครอบครัวตรวจไม่พบยีนผิดปกติ แต่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมก่อนอายุ 50 ปี อาจเป็นได้จากกรรมพันธุ์ท่่เกิดจากยีนที่ไม่ได้รับการตรวจพบ ต้องทำอย่างไรหากผลตรวจของคุณเป็นบวก ถ้าผลตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1, BRCA2, or PALB2 ถึงคุณมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป ค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปตลอดชีวิตคือ 12% แต่ความเสี่ยงของคุณจะขึ้นสูงถึง 69-72% มากกว่าคนปกติทั่วไปถึง 6 ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 17% - 44% ผู้ชายที่มียีน BRCA ผิดปกติ จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากขึ้น โดยเฉพาะถ้ายีนกลายพันธุ์นั้นเป็นชนิด BRCA2 การศึกษาหนึ่งให้ข้อมูลว่าการกลายพันธุ์ของ BRCA2 ในเพศชายจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้อ7% และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ถึงแม้คุณจะเป็นคนที่มีการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1, BRCA2, or PALB แต่เพียง 50 เซนต์เท่านั้นที่คุณจะส่งผ่านยีนที่ผิดปกตินี้ไปสู่ลูกของคุณ นักวิจัยทำการศึกษาหาความแตกต่างระหว่างมะเร็งเต้านมปกติและมะเร็งเต้านมที่สัมพันธ์กับ BRCA โดยพบว่า - มะเร็งเต้านมที่สัมพันธ์กับ BRCA1 จะมีลักษณะเป็น estrogen negative หมายถึงการเติบโตไม่ได้มีผลมาจากฮอร์โมน และเป็นเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งตัวรุนแรง (high grade) ซึ่งทั้งสองลักษณะทำให้การรักษาจะตอบสนองต่อเคมีบำบัดมากกว่าการใช้ยาต้านฮอร์โมน - BRCA1 และ BRCA2 สัมพันธ์กับมะเร็งที่ไม่ตอบสนองต่อ HER2/neu มะเร็งเต้านมบางชนิดที่ถูกกระตุ้นโดย HER2 gene กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งแบ่งตัวมากขึ้น โดยการตรวจพบ HER2 เป็นบวก จะส่งผลทำให้มะเร็งมีความรุนแรงมากขึ้น แต่สามารถรักษาได้ด้วยยา herceptin (chemical name: trastuzumab) มะเร็งเต้านมเกือบทั้งหมดที่สัมพันธ์กับ BRCA1- and BRCA2 ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาต้าน HER2 เรื่องจากมักมี HER2 negative - ผู้ที่มี BRCA1- and BRCA2 ผิดปกติ มีโอกาสการเกิดมะเร็งหลายตำแหน่งเท่า ๆ กับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั่วไป ถ้าคุณมียีนที่ผิดปกติและเกิดมะเร็งเต้านม แพทย์จะแนะนำการรักษาของคุณให้สอดคล้องกับสถานะ BRCA ตัวอย่างเช่น - ถ้าคุณมี BRCA1 ผิดปกติ มะเร็งเต้านมมักไม่ตอบสนองต่อยาต้านฮอร์โมน ในขณะที่ถ้าคุณมี BRCA2 ผิดปกติ การรักษาของคุณเป็นไปได้มากที่จะตอบสนองกับฮอร์โมนและได้รับยาต้านฮอร์โมน - ส่วน PALB2 ยังอยู่ในช่วงทำการศึกษา ในกรณีที่คุณต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งทั้งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ คุณสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อตัดสินใจทางเลือกต่าง ๆ ดังนี้
การผ่าตัดเต้านมป้องกันการเป็นโรค Preventive or "prophylactic" mastectomy เป็นการผ่าตัดเอาเต้านมทั้งสองข้างออกโดยพบว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 90% หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยที่มียีนที่ผิดปกติ ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมใหม่เกิดขึ้นได้ประมาณ 3% ในทุกๆปี ตัวอย่างเช่น 15% ใน 5 ปี ในขณะที่คนทั่วไปที่ไม่มียีนผิดปกติความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมใหม่หลังจากครั้งแรกมีเพียงแค่ 1% ต่อปี การผ่าตัดรังไข่ออกเพื่อป้องกันการเป็นโรค • Preventive or prophylactic salpingo-oophorectomy, เป็นการผ่าตัดเอาท่อนำไข่และรังไข่ทั้งสองข้างออกโดยสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 50% ถ้าหากผ่า