หลังจากได้ชิ้นเนื้อมาส่งตรวจจะสามารถทราบได้ว่าก้อนเนื้อดังกล่าวเป็นมะเร็งหรือไม่ เป็นเซลล์มะเร็งชนิดไหน ซึ่งถ้าหากผลชิ้นเนื้อเป็นมะเร็งก็จะทำการย้อมชิ้นเนื้อดังกล่าวพิเศษเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านมชนิดใด เพื่อวางแผนการรักษาให้เหมาะสมตามชนิดของมะเร็ง ซึ่งวิธีการย้อมชิ้นเนื้อพิเศษมีดังต่อไปนี้
การย้อมชิ้นเนื้อพิเศษ
§ การย้อมชิ้นเนื้อพิเศษเพื่อดูตัวรับฮอร์โมน
โดยปกติหลังได้ชิ้นเนื้อมา แพทย์จะทำการย้อมชิ้นเนื้อพิเศษเพื่อทราบว่ามีตัวรับฮอร์โมนหรือไม่ ซึ่งจะมี 2 ชนิด คือ ตัวรับเอสโตรเจน (Estrogen receptor) และตัวรับโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor) ซึ่งผลของชิ้นเนื้อจะแสดงผลออกมาหลายหลายรูปแบบ ได้แก่
· แสดงผลออกมาเป็น เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ 0-100% โดยถ้าหากมีตัวรับที่ > 1% ก็ถือว่ามีตัวรับฮอร์โมน
· แสดงผลออกมาเป็น 0, 1+, 2+, 3+ โดยหากเป็น 0 แสดงว่า ไม่มีตัวรับฮอร์โมน, 1+ แสดงว่ามีตัวรับฮอร์โมนระดับน้อย, 2+ แสดงว่ามีตัวรับฮอร์โมนระดับปานกลาง, 3+ แสดงว่ามีตัวรับฮอร์โมนระดับมาก
· แสดงผลออกมาเป็น ไม่มีตัวรับ (negative), มีตัวรับ (positive)
ซึ่งหากมีตัวรับฮอร์โมน คุณก็จะได้รับยาต้านฮอร์โมนเพื่อใช้เป็นยาในการรักษามะเร็งดังกล่าวร่วมด้วย เช่น aromatase inhibitors, selective estrogen receptor modulators, and estrogen receptor downregulators
แต่หากว่าผู้ป่วยได้ทำการตรวจชิ้นเนื้อแล้ว ผลของการย้อมชิ้นเนื้อพิเศษเพื่อดูตัวรับฮอร์โมนแจ้งผลมาเป็น unknown เกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้
· ชิ้นเนื้อไม่ได้รับการส่งตรวจย้อมพิเศษเพื่อดูตัวรับฮอร์โมน
· ชิ้นเนื้อขนาดเล็กจนไม่สามารถส่งตรวจย้อมพิเศษเพื่อดูตัวรับฮอร์โมนได้
· ชิ้นเนื้อมีตัวรับฮอร์โมนระดับน้อยมาก
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ควรสอบถามแพทย์เพื่อหาสาเหตุของผลตรวจดังกล่าวนี้ รวมไปถึงแผนการรักษาต่อไป
§ การย้อมชิ้นเนื้อพิเศษเพื่อดูตัวรับ HER-2
โดยปกติหลังได้ชิ้นเนื้อมา แพทย์จะทำการย้อมชิ้นเนื้อพิเศษเพื่อทราบว่ามีตัวรับ HER-2 หรือไม่ ซึ่ง HER-2 เป็นตัวรับอยู่ที่ผิวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งหากมีตัวรับ HER-2 ดังกล่าวนี้ คุณจะได้รับยาพุ่งเป้าเฉพาะเจาะจงในการรักษามะเร็งร่วมด้วย ซึ่งผลของชิ้นเนื้อจะแสดงผลออกมาเป็นแต้ม คือ 0, 1+, 2+, 3+ โดยหากผลชิ้นเนื้อแสดงผลออกมาเป็น 0, 1+ แสดงว่าไม่มีตัวรับ HER-2 แต่ถ้าแสดงผลออกมาเป็น 3+ แสดงว่ามีตัวรับHER-2 ส่วนถ้าหากผลชิ้นเนื้อแสดงออกมาเป็น 2+ แสดงว่าอาจจะมีหรือไม่มีตัวรับ HER-2 ก็ได้ แนะนำว่าควรส่งตรวจชิ้นเนื้อพิเศษเพิ่มเติม เช่น Fluorescence In-situ Hybridization (FISH), Dual In-situ Hybridization (DISH)ฯลฯ นอกจากนี้ในหนึ่งก้อนมะเร็งเต้านมเองนั้น อาจมีทั้งชนิดที่มีตัวรับ HER-2 และไม่มีตัวรับ HER-2 ในก้อนเดียวกันได้
ซึงการที่พบว่ามีตัวรับ HER-2 นั้นมีผลต่อการักษาและการให้ยาพุ่งเป้าฉพาะเจสะจงแก่ผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนายากลุ่มดังกล่าวให้มีความหลากหลาย เพื่อการรักษาผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น เช่น Herceptin, T-DM1, Neratinib, Pertuzumab และ Lapatinib เป็นต้น