การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Self-breast examination)
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Self-breast examination) เป็นการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้สม่ำเสมอทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านมของคุณ โดยเมื่อทำร่วมกับการตรวจเต้านมด้วยแพทย์ และการตรวจคัดกรองด้วยรังสีวิทยา เช่น เอกซเรย์และอัลตราซาวน์เต้านม (Mammogram and ultrasound breast) จะเป็นแนวทางในการคัดกรองและการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น
ขั้นตอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มี 5 ขั้นตอน
1.ให้คุณยืนอยู่หน้ากระจกแล้วเอามือ 2 ข้างเท้าที่เอว เพื่อดูว่าลักษณะ รูปร่าง และสีของเต้านมปกติเหมือนกัน 2 ข้างหรือไม่ มีบวมแดงหรือรูปร่างบิดเบี้ยวหรือไม่ มีผิวหนังหรือหัวนมบุ๋มบอดหรือไม่ | |
2.ให้คุณยืนอยู่หน้ากระจกแล้วเอามือ 2 ข้างยกขึ้นเท้าที่ท้ายทอย เพื่อดูว่าลักษณะ รูปร่าง และสีของเต้านมปกติเหมือนกัน 2 ข้างหรือไม่ การยกตัวของเต้านม 2 ข้างเหมือนกันไหม มีบวมแดงหรือรูปร่างบิดเบี้ยวหรือไม่ มีผิวหนังหรือหัวนมบุ๋มบอดหรือไม่ 3.ให้ดูที่หัวนมของคุณทั้ง 2 ข้างว่ามีแผล หรือน้ำไหลผิดปกติออกจากหัวนมหรือไม่ |
|
4.ให้คุณนอนราบเอามือข้างหนึ่งเท้าที่ท้ายทอย และเอาอีกมือหนึ่งคลำเต้านม โดยใช้อุ้งนิ้วชี้ กลาง นางคลำเต้านมให้ทั่วทั้งเต้านม โดยอาจคลำวนในเข้านอก หรือวนนอกเข้าในให้ทั่วทั้งเต้านม หรือคลำบนลงล่างจนทั่วทั้งเต้านม | |
5. หากใครไม่สะดวกที่จะนอนคลำ เราสามารถเวลาคลำยืนคลำเต้านมขณะอาบน้ำอาจทำให้คลำได้ง่ายขึ้น โดยคลำให้ทั่วทั้งเต้านมของคุณ เหมือนในขั้นตอนที่ 4 |
หากคุณคลำพบก้อนที่เต้านมต้องทำอย่างไร
อย่าเพิ่งตื่นตระหนก หากคุณคลำพบก้อนที่เต้านมมานานโดยส่วนใหญ่จะเป็นก้อนเต้านมจากฮอร์โมน หรือก้อนเนื้องอก
อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ หากคลำพบก้อนที่เต้านมที่เกิดขึ้นใหม่ โดยหากคลำพบก้อนเต้านมช่วงที่มีรอบเดือน แนะนำให้รอจนหมดประจำเดือน หากยังคลำพบก้อนอยู่แนะนำให้ไปพบพแพทย์
ควรรู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อเมื่อพบแพทย์ หากคุณมีก้อนที่เต้านมแล้วไปพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเต้านม หลังจากนั้นจะทำการวินิจฉัยด้วยรังสีโดยหากผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 35 ปี หรือตั้งครรภ์ จะทำเพียงอัลตร้าซาวน์เพียงอย่างเดียว แต่หากผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี แนะนำให้ทำเอกซเรย์และอัลตราซาวน์เต้านม (Mammogram and ultrasound breast)ร่วมกัน หรือในผู้ป่วยบางรายอาจมีการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ร่วมด้วยตามข้อบ่งชี้
ให้ซักถามแพทย์หากมีข้อสงสัย หลังจากการตรวจวินิจฉัยก้อนที่เต้านมแล้ว แพทย์จะอธิบายสาเหตุของการเกิดก้อน และแนวทางในการวินิจฉัยต่อเนื่องและแนวทางในการรักษา หากคุณมีข้อสงสัยให้ซักถามแพทย์เพื่อคลายข้อสงสัย
ตรวจเต้านมด้วยตนเองนั้นทำอย่างไรเพื่อเป็นการคัดกรองมะเร็งเต้านม
ตรวจเต้านมสม่ำเสมอโดยทำให้เป็นกิจวัตร แนะนำให้คุณตรวจเต้านมด้วยตนเองสม่ำเสมอทุกเดือน เดือนละครั้ง โดยคลำเต้านมหลังประจำเดือนวันแรกมาอีก 7 วัน ซึ่งหากคุณตรวจเต้านมด้วยตนเองสม่ำเสมอ คุณจะทราบถึงความเปลี่ยนแปลงและความผิดปกติได้รวดเร็ว
เต้านมแต่ละส่วนมีความแตกต่างกัน เช่น เต้านมส่วนด้านบนนอกหากคลำแล้วจะพบว่าเต้านมมีความหนา เหมือนก้อนได้ เต้านมส่วนล่างหากคลำแล้วจะคล้ายเม็ดทรายหรือกรวดได้ หรือในบริเวณใต้หัวนมอาจคลำแล้วคล้ายเมล็ดธัญพืช ฯลฯ
จดจำลักษณะปกติของเต้านมตนเอง หากคุณคลำเต้านมด้วยตนเองแล้วพบความผิดปกติ เช่น มีเต้านมบางบริเวณที่หนาตัวขึ้น หากความผิดปกติดังกล่าวเหมือนเช่นเดิมในทุกเดือน นั่นคือปกติของเต้านมเรา แต่หากคุณคลำเต้านมด้วยตนเองแล้วพบว่ามีความผิดปกติที่อตกต่างไปจากทุกเดือนที่เคยตรวจ อันนี้เป็นสิ่งที่ผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจ