ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม
ความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมนั้น โดยมากไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุ ประวัติทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตามการคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงลงได้
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้
น้ำหนักตัว น้ำหนักที่มากเกินไปสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากไขมันในร่างกายจะทำหน้าที่หลักในการสร้างเอสโตรเจนแทนรังไข่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น อาหารก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ โดยนักโภชนาการแนะนำไว้ว่า ให้รักษาน้ำหนักร่างกายให้มีสุขภาพดีเสมอโดยทานผักผลไม้มากกว่าห้าถ้วยต่อวัน จำกัดปริมาณไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดต่อวัน และรับประทานไขมันทั้งหมดไม่เกิน 30 กรัมต่อวัน รับประทานอาหารที่มีไขมัน Omega 3 และหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว เนื้อสัตว์แปรรูป หรืออาหารรมควัน
การออกกำลังกาย มีการศึกษาว่าการออกกำลังกายตั้งแต่ 45-60 นาที ตั้งแต่ 5 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์สามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งเต้านมได้
การดื่มแอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้ความสามารถของตับทำงานได้ลดลง สูญเสียการควบคุมปริมาณเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งได้
การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งเต้านม
ฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากเอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เต้านมให้มีการเจริญเติบโต การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งบางปัจจัยสามารถที่จะควบคุมได้ เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน การควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ หรือการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
ยาคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงเวลาที่จำกัดมีความเสี่ยงในการเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย และพบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ความเสี่ยงนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติ
ความเครียดและความวิตกกังวล ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม แต่การลดความเครียดและทำจิตใจให้สงบสามารถเพิ่มความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าเพศชาย เนื่องจากเต้านมของเพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโตตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนอเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน
อายุ อายุที่มากขึ้นย่อมมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม หากคุณอายุระหว่าง 30-39 ปี มีโอกาส 1 ใน 228 หรือ 0.44 % ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม และความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 1 ใน 29 หรือ 3.5% เมื่อคุณอายุ 60 ปี
พันธุกรรมในครอบครัว หากพบว่ามีญาติสายตรง (เช่น บิดา มารดา พี่ น้อง ลูกสาว) ที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี คุณจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม
การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งเต้านม
ฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากเอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เต้านมให้มีการเจริญเติบโต การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งบางปัจจัยสามารถที่จะควบคุมได้ เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน การควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ หรือการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
ยาคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงเวลาที่จำกัดมีความเสี่ยงในการเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย และพบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ความเสี่ยงนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติ
ความเครียดและความวิตกกังวล ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม แต่การลดความเครียดและทำจิตใจให้สงบสามารถเพิ่มความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายได้